กว่าจะได้ใบขับขี่แสนยากเย็น แต่บางคนก็ยังแยกไม่ออกว่าทางเอกทางโทคืออะไร จนทำให้เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนหลายครั้ง เพราะถนนหนึ่งเส้นอาจมีรถวิ่งมาได้หลากหลายเส้นทางจนทำให้เกิดการชนกันรถยนต์เสียหายไปจนถึงอันตรายแก่ผู้ขับขี่ใช้งานรถยนต์เอง ดังนั้น มาดูกันดีกว่าว่า ทางเอกทางโทคืออะไรกันแน่ เพื่อลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุให้ปลอดภัยตลอดการเดินทาง
ทางเอกทางโทคืออะไร
ปกติถ้ามีคำว่า ‘ทางเอก-ทางโท’ มาเมื่อไหร่จะรู้กันได้ทันทีว่า ตรงจุดนั้นอาจมีถนนหลายเส้นทางมาบรรจบกันทำให้เกิดทางเอก-ทางโท ส่วนทางเอกทางโทคืออะไร มาดูกัน
- ทางเอก หรือ ทางหลัก คือ ถนนเส้นหลักมักมีขนาดใหญ่และจำนวนเลนมากกว่าทางโท ไม่มีเส้นหยุดหรือป้ายหยุดตรงทางร่วม สามารถขับขี่เดินทางต่อเนื่องได้ โดยไม่จำเป็นต้องสังเกตหรือรอรถที่มาจากทางโท
- ทางโท หรือ ทางรอง คือ ถนนขนาดย่อมที่มีการตัดออกมาเจอถนนทางเอก มักจะมีจุดสังเกตตรงที่เส้นหยุดหรือป้ายหยุด ให้ระวังรถยนต์ที่มาจากทางหลัก หากคุณกำลังอยู่ในทางโทก็จำเป็นจะต้องสอดส่องสายตาดูว่า มีรถมาจากทางเอกบ้างหรือไม่ก่อนจะขับไปบนเส้นทางเอก
สรุปง่าย ๆ กับคำถาม ‘ทางเอกทางโทคืออะไร’ คำตอบก็คือ ทางเอกเป็นถนนหลักสามารถไปได้ตลอดต่างจากทางโทที่เป็นทางรองต้องระมัดระวังรถที่มาจากทางหลักเสมอ เพราะหากเกิดอุบัติเหตุคนที่ขับขี่มาจากทางโทอาจต้องรับผิดชอบเสียเงินก้อนโตให้รถที่ขับมาจากทางเอกได้
ขับขี่อย่างปลอดภัยเมื่อต้องเจอทางเอกทางโท
นอกจากรู้แล้วว่าทางเอกทางโทคืออะไร อีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือจะขับขี่อย่างไรเมื่อต้องเจอทางเอกหรือทางโทให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ ไม่ต้องเสี่ยงเจ็บตัวหรือเสียเงินให้สิ้นเปลือง
- เช็คสัญลักษณ์ตัดทางเอกทางโท
สำหรับการเช็คทางเอกทางโท กรณีไม่มั่นใจว่าทางที่คุณกำลังขับขี่อยู่เป็นทางเอกหรือทางโทกันแน่อาจดูได้จากสัญลักษณ์เหล่านี้ เช่น เส้นทึบหรือเส้นประบนถนน จะสังเกตได้จ้าหากขับไปข้างหน้าแล้วถนนเส้นนั้นเป็นทางเอกคุณจะเห็นเส้นสีขาวลากยาวตัดจากถนนตรงที่คุณกำลังหันรถอยู่ หรือ ป้ายเหลี่ยมสีเหลืองมีสัญลักษณ์ให้เห็นเป็นรูปถนนหลายเส้นบรรจบกันทำให้เข้าใจได้ว่าต้องระวังถนนเส้นหน้า ฯลฯ
- ไม่มีสัญลักษณ์บอกว่าเป็นทางเอกทางโท
เมื่อคุณขับขี่ไปเจอทางแยกที่ตัดผ่านระหว่างทางเอกและทางโทแต่ดันไม่มีสัญลักษณ์อย่างเส้นตัดหรือป้ายเตือนแม้แต่น้อยอาจสังเกตให้รู้แน่ชัดก่อนว่า เส้นที่คุณกำลังขับอยู่เป็นเส้นทางเอกหรือทางโทกันแน่ หากเป็นทางเอกก็สามารถไปได้ตลอดครับเพิ่งไปได้ตามความเร็วที่ถูกกฎหมายได้อย่างสบายใจ แต่หากถนนเส้นที่คุณกำลังขับอยู่มีขนาดเล็กกว่าอีกเส้นหนึ่งที่คุณกำลังจะขับมุ่งตรงไปซึ่งเป็นทางลัดหรือทางเอกอ่ะชะลอแล้วดูว่า มีรถจากทางเอกมาหรือไม่ถ้าไม่มีก็สามารถขับต่อไปได้ แต่ถ้ามีก็ต้องให้รถจากทางเอกไปก่อน เพราะถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาคุณนี่แหละจะเป็นฝ่ายผิด
- ไม่ต้องรีบร้อน แค่มีน้ำใจบนท้องถนนก็ลดอุบัติเหตุได้
ไม่ว่าจะเป็นทางเอกหรือทางโทก็อย่าลืมขับขี่ช้า ๆ อย่างปลอดภัยไม่ต้องเร่งรีบแค่เริ่มมีน้ำใจและใช้สติบนท้องถนนให้มากก็สามารถลดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ เพียงเมื่อเจอทางแยกระหว่างทางเอกและทางโทก็อย่าลืมชะลอความเร็วดูรถจากอีกฝั่ง ถ้าอีกฝั่งเป็นทางเอกที่มาด้วยความเร็วอาจให้เขาไปก่อน แม้ดูเหมือนเป็นน้ำใจเพียงเล็กน้อยก็อาจลดอุบัติเหตุขนาดใหญ่ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว
ทางเอกอาจไม่ถูก 100% เสมอไป
เชื่อว่า หลายคนพอเข้าใจทางเอกทางโทคืออะไรแล้วก็คิดไปว่า ฝ่ายทางเอกจะถูก 100% เสมอแต่ความจริงแล้วไม่เป็นแบบนั้น เพราะพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 70 และ 71 กล่าวว่า …
‘มาตรา ๗๐ ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถเข้าใกล้ทางร่วมทางแยก ทางข้าม เส้นให้รถหยุด หรือวงเวียน ต้องลดความเร็วของรถ’
‘มาตรา ๗๑ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๑ และมาตรา ๒๖ เมื่อผู้ขับขี่ขับรถมาถึงทางร่วมทางแยก ให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติดังนี้
(๑) ถ้ามีรถอื่นอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องให้รถในทางร่วมทางแยกนั้นผ่านไปก่อน
(๒) ถ้ามาถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกันและไม่มีรถอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องให้รถที่อยู่ทางด้านซ้ายของตนผ่านไปก่อน เว้นแต่ในทางร่วมทางแยกใดมีทางเดินรถทางเอกตัดผ่านทางเดินรถทางโท ให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถในทางเอกมีสิทธิขับผ่านไปก่อน’
แม้ตามกฎหมายจะกำหนดให้ทางเอกไปก่อน แต่จากมาตรา 70 จะเห็นได้ว่า มีการกำหนดให้ทั้งสองฝั่งต้องขับด้วยความระมัดระวัง ชะลอความเร็วอยู่เสมอ ดังนั้น ไม่ว่าจะมาจากทางเอกหรือทางโทก็จำเป็นจะต้องชะลอความเร็วของรถยนต์ขณะขับผ่านทางแยก เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ เพราะหากเกิดอุบัติเหตุบางกรณีอาจโดนเรื่อง ‘ประมาทร่วม’ ได้
หลังจากอ่านบทความนี้ หลายคนคงเข้าใจมากขึ้นแน่ ๆ ว่า ทางเอกทางโทคืออะไร แต่อย่างที่ได้บอกไปว่า จะถูกหรือผิดหรือกลายเป็นประมาทร่วม ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี ไม่สามารถการันตีได้ แต่สิ่งที่การันตีได้คือ ‘ประกันรถยนต์ ชั้น 2+’ คุ้มครองครบครอบคลุมทุกความต้องการ แถมเคลมไว จ่ายสบาย ไม่ต้องซีเรียสแม้แต่เรื่องทางเอก – ทางโท สนใจศึกษาเพิ่มเติมได้ ที่นี่ เลย!